วิธีการสื่อสารสำหรับผู้จัดการ

ใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการสื่อสารประจำวัน

ใช้เทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม

ในการแสดงออกอย่างมีประสิทธิภาพ ไมจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการแสดงความรู้สึกส่วนตัว ความรู้สึกแม้จะเป็นเชิงลบก็ถือว่ายอมรับได้ เนื่องจากความรู้สึกจะบอกเราว่าคุณกำลังเผชิญกับอะไร (เช่น ท้อแท้ ไว้วางใจ หงุดหงิด โกรธ กระวนกระวาย พึงพอใจ กระตือรือร้น ฯลฯ)

ผู้จัดการที่ดีปฏิเสธคำขอของทีมได้ในบางครั้ง การตอบรับทุกอย่างจะทำให้ความสำคัญของคุณด้อยลงไป ผู้จัดการที่ดีต้องสามารถปฏิเสธคำขอได้เป็นครั้งคราวโดยไม่สร้างความตึงเครียดและในขณะเดียวกันก็รักษาคุณภาพความสัมพันธ์ไว้

เมื่อคุณถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ ใช้วิธีแยกแยะ บอกว่า “นี่คือข้อเท็จจริง” เมื่ออีกฝ่ายพูดข้อเท็จจริง หรือ “นี่คือความเห็นของคุณ” หากเป็นการตัดสิน วิธีนี้พัฒนาขึ้นโดยนักจิตวิทยา Manuel Smith

ในการแสดงออกอย่างมีประสิทธิภาพ คุณสามารถเลือกใช้ข้อเท็จจริง อธิบายกระบวนการทำงานในอนาคต หรือแสดงความรู้สึกส่วนตัว ในทางตรงกันข้าม คุณควรหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นหรือตัดสินอะไร

รูปแบบการแสดงออกที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าคือ เวอร์ชันที่ “ด้อยลง” ของรูปแบบการแสดงออกที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ความประสงค์คือฝันหวานเกี่ยวกับความจริง ความเห็นมักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ และความปรารถนาคือความมุ่งมั่นที่อ่อนกำลัง

คำถามโดยทั่วไปของการฟังเชิงรุกคือ คำถามปลายเปิด เชื่อมโยงกับสิ่งที่อีกฝ่ายเพิ่งพูดมา และสอบถามไม่เพียงข้อเท็จจริงเท่านั้นแต่รวมถึงความรู้สึกที่ได้รับด้วย คำถามปลายปิดเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง แต่อาจจบการสนทนาได้

เมื่อขอให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น คุณก็แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของแต่ละคนมีคุณค่า แม้ว่าจะไม่ได้เข้าใจกันทุกคน นี่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้การอภิปรายสร้างสรรค์

ในการสนับสนุนให้ทุกคนพูด สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดพื้นที่การอภิปรายที่ทุกคนรู้สึกเป็นอิสระและพูดได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตัดสินหรือถามคำถามที่ไม่เข้าท่า ตั้งกฎเพื่อการประพฤติที่ดี (เช่น อย่าขัดจังหวะ ติชมอย่างสร้างสรรค์แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ ฯลฯ) และเตือนให้พวกเขารักษากฎถ้าจำเป็น

เมื่อแสดงความคิดเห็นอย่างระมัดระวัง คุณเปิดให้อภิปรายในขณะที่บอกเล่ามุมมองของตนเอง นี่ยังเป็นวิธีที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อให้ประเด็นที่อภิปรายก้าวหน้าไป หากมีปัญหาระหว่างบุคคล อาจเป็นเรื่องดีที่จะถามผู้อื่นว่าเขาเข้าใจเราอย่างไร ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการสื่อสารได้

ควรให้ความสำคัญสูงสุดกับการแสดงออกสี่แบบ: แสดงความคิดเห็นอย่างระมัดระวัง ถามความคิดเห็นของผู้อื่น เรียบเรียงความคิดของผู้อื่นอีกครั้งอย่างสร้างสรรค์ และสุดท้ายสรุปจากมุมมองต่างๆ ของผู้พูดหลายๆ คน

เสนอแนะให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายใช้วลี “ใช่ และ… Yes and” แทนที่จะเป็น “ใช่ แต่…Yes but” เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาแสดงความเห็นที่สอดคล้องกับความเห็นของผู้อื่น

คุณควรแสดงความคิดเห็นอย่างระมัดระวัง การทำเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับประเด็นนี้ เพื่อให้สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ถามตัวเองว่าพวกเขาแตกต่างจากคุณอย่างไร: พวกเขามีบุคลิกเปิดเผยหรือเก็บตัว ใจร้อนหรือเชื่องช้า ใช้เหตุผลหรือใช้อารมณ์ เน้นจินตนาการหรือเน้นลงมือปฏิบัติ ยืดหยุ่นหรือเป็นระบบ

เมื่อติชมอย่างสร้างสรรค์ คุณควรยึดพูดเกี่ยวกับความรู้สึกเมื่อให้รายการผลกระทบเชิงลบที่สังเกตเห็น อาจเป็นเหตุการณ์จริงหรือความรู้สึก (เช่น ความท้อแท้ ความวิตกกังวล ความกระตือรือร้น ฯลฯ) การตำหนิเพียงอย่างเดียวคือการวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมโดยไม่เสนอวิธีแก้ไข ซึ่งมักจะทำให้ความสัมพันธ์สิ้นสุดลง

คุณจะชมเชยพนักงานอย่างไร เริ่มโดยอธิบายพฤติกรรมและสิ่งที่พวกเขาได้ทำ จากนั้นเน้นที่ผลกระทบเชิงบวก สุดท้าย แสดงความพึงพอใจของคุณ

เมื่อติชมอย่างสร้างสรรค์ คุณควรอธิบายพฤติกรรมที่เป็นปัญหาซึ่งคุณสังเกตเห็น ให้ถูกต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้ขณะที่พูดโดยใช้บุรุษที่หนึ่ง เพื่อเราจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อที่สิ่งที่พูด ระมัดระวังอย่าพูดว่าอีกฝ่ายตั้งใจทำอะไร การพูดว่า “ฉันเสียใจเพราะสิ่งที่คุณพูด” กับการพูดว่า “คุณพยายามทำให้ฉันเสียใจ” นั้นแตกต่างกันมาก

หากคุณต้องการวิพากษ์วิจารณ์ ให้ทำเป็นการส่วนตัว ให้โอกาสอีกฝ่ายอภิปรายและพยายามอย่าอารมณ์เสีย

หน้าต่าง Johari ซึ่งสร้างขึ้นโดย Joseph Luft และ Harrington Ingham ในปี 1955 เป็นเมทริกซ์ที่ใช้ในการสื่อสาร โดยแบ่งออกเป็นสี่ส่วน: บริเวณเปิดเผย (ตนเองรู้และผู้อื่นรู้), บริเวณจุดบอด (รู้เฉพาะผู้อื่น), บริเวณซ่อนเร้น (รู้เฉพาะตนเอง) และบริเวณอวิชา (ตนเองไม่รู้และผู้อื่นไม่รู้)

พนักงานของคุณพยายามเรียกร้องความสนใจไม่ว่าจะทำอะไรและต่อต้านอยู่เสมอ บางคนมีกลยุทธ์ที่จะเรียกร้องการมีตัวตนจากผู้คนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว พวกเขาอาจพยายามโดดเด่นไม่ว่าจะทำอะไร ประพฤติตนในเชิงต่อต้านอยู่เสมอ ฯลฯ จิตแพทย์ Eric Berne ผู้ก่อตั้งการวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงสัญญาณของการรับรู้ตัวตน

Éditions Eyrolles

การบริหารการจัดส่งอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่และความรับผิดชอบ
วางแผนส่งมอบให้ได้ตามกำหนด ตามเป้าหมาย
ควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณ
ปรับปรุงการจัดส่งให้ทันสมัยและดีกว่าคู่แข่ง

วงรอบการทำงานต้องเกี่ยวเนื่องกับส่วนงานใดบ้าง
Customer
Order Processing
Sales
Sales Suport
Forecasting
Planning
Purchasing
Production
Inventory
Distribution

รูปแบบการกระจายสินค้า
Centralization System
จัดส่งเอง
ใช้บริการขนส่ง
Decentralization System
Depot
Stock list
Concessionaire
Regional Distribution Center

เป้าหมายของการจัดส่ง
ส่งรวดเร็วตามกำหนด
ของอยู่ในสภาพดี
ตรงตามความต้องการของลูกค้า
บริการดี มารยาทดีกับลูกค้า
ค่าใช้จ่ายเหมาะสม

วิธีคัดเลือกบุคลากร
บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์
ร่างกายแข็งแรง
อดทนต่ออารมณ์ของลูกค้าได้
มีไหวพริบดี
ซื่อสัตย์
มีความรับผิดชอบ

การฝึกอบรม
เทคนิคในการติดต่อลูกค้า
ความรู้เรื่องสินค้า
การขับรถ
การดูแลรถ

ปัจจัยการคำนวณค่าขนส่ง
ระยะทาง
จำนวน SKU ของสินค้า
น้ำหนักสินค้า
ปริมาตรสินค้า
ราคาสินค้า
จำนวนจุดที่วิ่งไปในแต่ละเที่ยว
ช่วงเวลาปฏิบัติงาน
ราคาน้ำมัน
อายุของรถบรรทุก
เปรียบเทียบค่าขนส่งกับบริษัทขนส่ง

เอกสารประกอบการจัดส่ง
ใบสั่งซื้อ
ใบเสนอราคา
อินวอยซ์
แผนที่ลูกค้า

เทคนิคในการจัดส่งสินค้าให้ทันตามกำหนด
ตรวจสอบเอกสาร
การจัดสินค้า
รอรถเพื่อขึ้นของ
การขึ้นของ
ระหว่างเส้นทางส่งของ
การรับของ

KPI ของการจัดส่ง
จำนวนอินวอยซ์ที่ต้องส่งของในแต่ละวัน
ระยะเวลาในการจัดสินค้า
ส่งตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด
จำนวนลูกค้าที่จัดส่ง
จำนวนรายการในใบส่งสินค้า
จำนวนสินค้าที่ส่งในเขต นอกเขต
จำนวนการรับคืนสินค้า

แนวทางการประหยัดค่าใช้จ่าย
จัดส่งตามเส้นทาง ไม่ทับซ้อน
Full container load
Load ของรวดเร็ว เป็นระเบียบ
การ Packing อย่างชำนาญ
Recycle Packing Material
เลือกรถให้เหมาะสม
ใช้อุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวก

แบบฟอร์มและรายงาน
แบบฟอร์มรายการตรวจสอบสภาพรถก่อนใช้ทุกวัน
รายงานการทำงานประจำวัน จำนวนงาน จำนวนเงิน เวลาเข้า ออก
รายการส่งของที่มีปัญหา
ระยะเวลาส่งของของแต่ละอินวอยซ์
ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกับยอดขาย
ตรวจสอบเทียบกับงบประมาณ

ข้อร้องเรียนจากลูกค้าและฝ่ายขาย
จัดส่งล่าช้า
ส่งของไม่ครบจำนวน ขาด หาย
จัดส่งไม่ถูกต้อง สลับร้านค้ากัน
สินค้าเสียหาย
ส่งของไม่ตรงออเดอร์
ไม่ได้รับของ สินค้าสูญหาย
ลูกค้าปฏิเสธลายเซ็นต์รับของ

ข้อร้องเรียนจากฝ่ายบัญชี
บิลหาย ส่งคืนไม่ครบ
ใบเซ็นรับส่งคืนไม่ครบ
ส่งเงินคืนไม่ครบ
สินค้าหาย
ของคืนกลับไม่ครบ

การดำเนินการเมื่อมีข้อร้องเรียน
ใครรับผิดชอบ
การแก้ไข
รับฟังปัญหาอย่างใจเย็น
สอบสวน
พิสูจน์
ชี้แจง
ชดใช้
เรียกร้องค่าเสียหายต่อจาก Supplier บริษัทขนส่ง หรือผู้เกี่ยวข้อง
หาทางป้องกัน

การตรวจเช็คของ
ก่อนรับมอบ
ก่อนส่งมอบให้ลูกค้า

อาจารย์เพ็ญแข ลิ่มสุวรรณโรจน์

8 วิธีกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกรัก

ช่วงแรกเกิดถึง 6 ปี เป็นช่วงที่สมองมีอัตราการพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาทเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงกันเพื่อให้สมองแต่ละส่วนทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับวิธีที่ฝึกสมองของลูกนั้นมีอะไรบ้างไปดูกัน

  1. สารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ
    สารอาหารที่สำคัญได้แก่ ไอโอดีนที่พบในอาหารทะเล ธาตุเหล็กในเนื้อแดง ตับ ไข่ ไขมันจากปลาทะเล โประตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่
    วิตามินและแร่ธาตุในผักและผลไม้สด เป็นต้น
  2. นอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ
    ทารกนอน 13-17 ชั่วโมง
    เด็กอายุ 1-5 ปี นอน 11-14 ชั่วโมง
    หลัง 5 ปีส่วนใหญ่จะไม่นอนกลางวันแล้ว
    ควรงดใช้หน้าจอมือถือ แท็ปเบลต ทีวี ก่อนนอน 1-2ชั่วโมง เพื่อการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่
  3. การเล่นที่เหมาะสมตามวัย
    ช่วยให้เด็กผ่อนคลายและเปิดโอกาสในการเรียนรู้ทุกๆด้าน
    ควรส่งเสริมให้เด็กได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการ กล้าคิด กล้าทำ ลองผิด ลองถูก
    เพิ่มความจำ สมาธิ และฝึกความอดทนในการพยายามแก้ปัญหา
  4. การเล่านิทาน
    เปิดโอกาสให้ลูกได้ตั้งคำถาม พูดโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น เพื่อเด็กจะได้พัฒนาด้านจินตนาการ
    เลือกใช้ภาษาในการแสดงอารมณ์ความรู้สึก การลำดับเหตุการณ์
    อีกทั้งเนื้อหาในนิทานยังสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม การมีน้ำใจ ระเบียบวินัย และวิธีการแก้ไชปํญหา เป็นต้น
  5. สมองดีดนตรีช่วยได้
    จังหวะและเสียงดนตรีช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เพิ่มทักษะความจำ
    ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง จังหวะดนตีของแต่ละเพลง
  6. ออกกำลังการสม่ำเสมอ
    เด็กๆควรได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
    ช่วยให้นอนหลับสบาย กระตุ้นความอยากอาหาร
    กระตุ้นการทำงานของสมองทั่งสองซีกให้เชื่อมโยงกัน
    เมื่อเข้าสู่วัยเรียนควรได้เล่นกีฬาที่มีการแข่งขัน กติกา
    ให้เด็กรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภ้ย เพื่อพัฒนาด้านการควบคุมอารมณ์
    การการสร้างสัมพันธภาพทางสังคมต่อไป
  7. สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
    ด้านกายภาพ ระวังการหกล้ม ตกจากที่สูง สิ่งของหนักล้มทับ
    การจมน้ำ การเดินทาง ป้องกันภัยจากโรคระบาด โควิด
    สุขอนามัย ล้างมือ หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงที่ชุมชนคนเยอะๆ
  8. การเลี้ยงลูกเชิงบวก
    เลี้ยงลูกในบรรยากาศที่ผ่อนคลายและมีความสุข ด้วยความรักความผูกพันธ์กับผู้เลี้ยงดู
    เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ เห็นตนเองมีคุณค่าและเห็นคุณค่าของผู้อื่นด้วย
    พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างไม่ใช้ความรุนแรง เห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ ให้อภัยกัน

รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย
BRAND’S Health Partner Magazine

ทำงานแบบผู้ชนะ

  1. ใช้สมองนำ ทำให้ไว ไม่เสร็จไม่เลิกรา
  2. จะทำเฉพาะในสิ่งที่ทีมงานยังทำไม่ได้ ส่วนที่ทีมงานทำได้แล้วก็ให้เขาทำเอง
  3. จะเคลียร์งานทุกชิ้นที่อยู่บนโต๊ะให้หมดก่อนที่จะกลับบ้าน
  4. กำหนดแผนวิสัยทัศน์ในอีก 5 ปี 10 ปี จนถึง 20 ปีข้างหน้า
  5. วิสัยทัศน์จะช่วยให้ผู้ร่วมงานเกิดความมุ่งมั่นในการทำงานไม่ทำงานไปวันๆ
  6. ขีดเส้นตายตั้งเวลาให้งานทุกๆชิ้น
  7. ไม่ว่าจะทำอะไรต้องทำให้ดีเลิศ
  8. ทำงานเป็นทีม ไม่มีลูกน้อง มีแต่เพื่อนร่วมงาน
  9. ทุกหน่วยงานจึงต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อเป็นศูนย์รวมใจของคนในหน่วยงาน
  10. เป้าหมายเป็นสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นไปได้และต้องการทำให้สำเร็จ
  11. กำหนดเป้าหมายก่อนบริหารเวลา
  12. ทำงาน ออกกำลังกาย งานอดิเรก
  13. รับงานมาอย่าเพิ่งทำ วางแผนก่อน เรียงลำดับสำคัญก่อนหลัง
  14. ทุกงานเมื่อทำเสร็จอย่าเพิ่งส่งทันที ให้มีการวางระบบตรวจสอบอย่างเป็นลำดับขั้น
  15. ตั้งเป้าแข่งกับเวลาเพื่อหาวิธีการทำงานนั้นให้เสร็จเร็วขึ้น
  16. ฝึกทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
  17. ความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นให้เราเกิดความกระตือรือร้น
  18. มองความเครียดให้ถูกต้อง ใช้เวลาให้ถูกต้อง รู้จักเวลาแห่งการพักผ่อน

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

เคล็ดลับรวยคอนเนกชั่น

1. เวลาสบตาคนอื่นให้บรรยายลักษณะของตาสีแบบไหน รูปทรงยังไง ตาเท่ากันไหม ดูแว่น ดูการแต่งตา
2. ใช้สายตาเสาะหาก่อนคลายสีหน้าไปเป็นรอยยิ้มแห่งการยอมรับ
3. ทดลองสวมชุดก่อนโอกาสสาคัญใส่ชุดไปงานปาร์ตี้ไปเดินเล่นในบ้านก่อน
4. แนะนาชื่อคนก่อนบอกตำแหน่งเขา
5. เวลาแนะนาเพื่อนให้ชูข้อมูลความโดดเด่นของเขาด้วย
6. เวลาอยู่ในกลุ่มให้นั่งฟังเงียบๆก่อนในตอนแรกและค่อยๆแสดงความคิดเห็นในตอนหลัง
7. เมื่อทราบคาตอบให้นิ่งไว้ซักระยะค่อยตอบและสบตาคนที่ถามไว้ตลอด
8. ถ้าไม่รู้คาตอบให้พูดว่าผมขอเวลาคิดต่ออีกหน่อยนึง
9. เวลาจับมือทักทายให้ใช้นิ้วชี้แตะเบาๆที่จุดจับชีพจรของเขา
10. เวลารับนามบัตรให้ประคองและถือไว้ระดับเอวระหว่างพูดคุยมองดูนามบัตรเพื่อหาเรื่องคุย
11. อย่าตบหลังตอนกอดกัน
12. ไปถึงห้องประชุมก่อนเวลาเล็กน้อยเพื่อเลือกที่นั่งใกล้คนสาคัญ
13. เวลาบอกลาใครให้ใช้น้าเสียงสดใสเหมือตอนพบกัน
14. ชวนคุยเรื่องกิจกรรมของเพื่อนที่เพิ่งผ่านมาใหม่ๆ พยายามนึกรายละเอียดต่างๆและมาชวนคุย
15. กลเม็ดแลกชื่อกันผมชื่อ….ส่วนชื่อของคุณคือ….ตามด้วยสายตาคาดหมายคำตอบ
16. เวลาชวนใครใช้คำว่าเมื่อไรแทนคำว่าได้ไหม
17. ถ้ามาสายให้ขอโทษแต่อย่าเพิ่งรีบแก้ตัว
18. เลือกที่นั่งด้านขวาของคนสำคัญหรือเลือกที่นั่งที่สูงที่สุด

บางส่วนจาก “96 เคล็ดลับรวยคอนเนกชั่น”